vendredi 30 janvier 2015

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช



                      วโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครบรอบ 60 พรรษาในปี พ.ศ.2530 โดยกรมสามัญศึกษาได้น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้วยความวิริยะอุตสาหะ และทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขเพื่อพัฒนาประเทศไทย


พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



 ในด้านการศึกษา


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มมีพระราชดำริพร้อมกับได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนริเริ่มในการจัดสร้างโรงเรียน และวัด ทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น โครงการพระดาบสมูลนิธิอานันทมหิดล







ในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี


        ทรงฟื้นฟูสืบทอดประเพณีหลายอย่างเพื่อเป็นขวัญ  เช่น พระราชพิธีจรดพระนั่งคัลแรกนาขวัญพระราชพิธีถือน้ำ พระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น




         

    

ด้านศาสนา

ทรงออกผนวชตามพระราชประเพณีเมื่อพุทธศักราช 2495  ทรงอุปถัมภ์การทำนุบำรุงศาสนาทุกด้าน เช่น การสร้างวัด สร้างพระพุทธรูป ประกอบพิธีทางศาสนา








ด้านการพัฒนาชุมชน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทุกหนแห่งไม่ว่าจะดินแดนแห่งนั้นจะทุรกันดารเพียงใดไม่ว่าใกล้ไกลแค่ไหน พระองค์จัดทำโครงการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริควบคู่ไปในทุกๆด้านไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่ง พระองค์มีจุดประสงค์เดียว คือ เพื่อขจัดความทุกข์ยากของชนบท





ด้านการเกษตรและชลประทาน  

ท่านจะทรงเน้นในเรื่องการค้นคว้า ทดลองและวิจัยพันธุ์พืชใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืชและ สัตว์ต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น







ด้านการกีฬา



เรือใบเป็นกีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเป็นตัวแทนของประเทศไทยลงแข่งเรือใบในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ 
พระบรมราชินี ท่ามกลางความปลื้มปีติของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ และเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทั่วโลก ทำให้พระอัจฉริยภาพทาง กีฬาเรือใบ ของพระองค์ยอมรับกันทั่วโลก



                           


 ด้านดนตรี

พระองค์ทรงรอบรู้เรื่องดนตรีเป็นอย่างดีและทรงดนตรีได้หลายชนิด เช่น แซ็กโซโฟน คราริเน็ต ทรัมเป็ต กีตาร์ และเปียโน ทรงโปรดดนตรีแจ๊ส เป็นอย่างมาก และพระองค์ได้ประพันธ์เพลงที่มีความหมายและไพเราะหลายเพลงด้วยกัน เช่น
เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน เป็นเพลงแรก สายฝน ยามเย็น ใกล้รุ่ง ลมหนาว ไกลกังวล และพรปีใหม่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตชาวไทย







มูลนิธิชัยพัฒนา


เป็นมูลนิธิซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพัฒนาอื่นๆเพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้





โครงการหลวง

เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขา ผลผลิตจากโครงการหลวงในปัจจุบันประกอบด้วย ผักปลอดสารพิษ สมุนไพร ถั่ว ผลไม้ เห็ด ดอกไม้เมืองหนาว และผลิตภัณฑ์แปรรูปในชื่อการค้าโครงการหลวง และ ดอยคำ




โครงการส่วนพระองค์สวนจิตลดา


 

สวนจิตลดา มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน เพื่อศึกษา ทดลอง และวิจัยหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานทางด้านการเกษตรต่างๆ เช่น การปลูกข้าว การเลี้ยงโคนม การเพาะพันธุ์ปลานิล และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งผลการศึกษาสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแบบอย่างในการนำไปปฏิบัติตาม นอกจากนี้ยังเป็นการดำเนินการโดยมุ่งหวังผลตอบแทน จึงมีโครงการที่ตั้งขึ้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร






แก้มลิง


เป็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับพื้นที่หน่วงน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม มีแนวคิดจากการที่ลิงอมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มไว้ได้คราวละมากๆ







โครงการฝนหลวง

เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในเกษตร







     กังหันน้ำชัยพัฒนา

คิดค้นในเดือนกุมภาพันธ์ปีพ.ศ.2536  ช่วยให้การบำบัดน้ำการระบายอากาศและเสีย แต่ช่วยให้ออกซิเจนของแม่น้ำอีกด้วย







เศรษฐกิจพอเพียง

เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงชีวิตมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 เป็นต้นมา เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆเศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศโดยปัญญาชน









วิดีโอพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





        อีกทั้งโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพของเรายังดำเนินตามรอยพระราชดำรัสและปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงที่ยึดหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข









    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ แนวทางการดำรงชีวิตและปฏิบัติตนของประชาชนให้ดำเนินทางสายกลาง
          หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
 3 ห่วง คือ สายกลาง ประกอบด้วย
    ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง
    ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล   หมายถึง การตัดสินใจต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
    ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง  หมายถึง เตรียมพร้อมรับผลกระทบในด้านต่างๆ


2 เงื่อนไข ได้แก่
   เงื่อนไขที่ 1  เงื่อนไขความรู้  คือ ความรู้รอบด้าน ความรอบคอบ
   เงื่อนไขที่ี 2  เงื่อนไขคุณธรรม  คือ ตระหนักในคุณธรรม  มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน ความเพียร ใช้สติในการดำรงชีวิต

          หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 3 ห่วง คือ สายกลาง ประกอบด้วย    

ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง    

ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล   หมายถึง การตัดสินใจต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล    

ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง  หมายถึง เตรียมพร้อมรับผลกระทบในด้านต่างๆ2 เงื่อนไข ได้แก่

   เงื่อนไขที่ 1  เงื่อนไขความรู้  คือ ความรู้รอบด้าน ความรอบคอบ   

เงื่อนไขที่ี 2  เงื่อนไขคุณธรรม  คือ ตระหนักในคุณธรรม  มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน ความเพียร ใช้สติในการดำรงชีวิต